มีคนติดต่อทนายมาหลายกรณี ปรึกษาทนายเรื่องการหมิ่นประมาท ทั้งโดนหมิ่น และไปหมิ่นเขาแล้วโดนฟ้องมา
มี 2 กรณีสำหรับคดีหมิ่นประมาทคือ
ก.ก่อนอื่นเลยนะครับจะฟ้องว่าหมิ่นประมาทคือต้องรู้ก่อนว่าใครโดนหมิ่น ยกตัวอย่างเช่นนาย ข ด่าว่า ทนายจังหวัด กทม เป็นโจร ทีนี้เราก็ไม่รู้ใช่มั้ยครับว่าใครโดนหมิ่น เพราะทนาย กทมมีเป็นพันเป็นหมื่น แต่ถ้าสมมติว่า นาย ข ด่าว่า ทนายตำบล ... เป็นโจร ซึ่งทั้งตำบล... มีทนาย 3 คน อันนี้เรารู้แล้วว่ามันเป็นการหมิ่น 3 คนนี้แหละ
ข.ตัวอย่างต่อมา พวกล๊อกอิน username ต่างๆ ใน internet หรือพวก แอคหลุม แอคปลอมๆ ไม่รู้ว่าเป็นใคร ยกตัวอย่างเช่น ล๊อคอินชื่อ xyz ในเว็บบอร์ดแห่งหนึ่ง โดนหมิ่น กล่าวคือมีคนไปด่า ล๊อกอิน xyz ว่าเป็นโจร ปัญหาคือเราก็ไม่รู้ว่า ล๊อกอิน xyz คือใคร ใช่มั้ยครับ ดังนั้นเจ้าของล๊อคอิน xyz จะไปแจ้งความว่าตัวเองโดนหมิ่นก็ไม่ได้เพราะชาวบ้านหรือคนทั่วไปก็ไม่รู้ว่าใครด่าใคร (แต่กรณีนี้จะเปลี่ยนไปถ้าเราหรือคนทั่วไปรู้ว่า ล๊อคอิน xyz คือใคร)
ค.อีกตัวอย่างหนึ่งคือด่าลอยๆ เช่นเราด่าว่า"ไอ้นั่น"น่ะเป็นโจร ปัญหาคือเราก็ไม่รู้ว่าใครคือ "ไอนั่น" ใช่มั้ยครับ ยกเว้นเสียว่า คนทั่วไปจะรู้ว่าใครคือไอนั่น อันนี้ก็ไปคุยกันบนศาล
กรณีที่เคยเกิดขึ้นคือมีนักข่าวคนหนึ่งไปหมิ่นประมาทนายพลตำรวจท่านหนึ่งโดยการไม่เอ่ยชื่อ ศาลท่านก็ตัดสินมาว่า คนอ่านทั่วไปน่ะไม่รู้หรอกว่านายพลท่านนี้เป็นใคร กว่าจะรู้ต้องไปสืบเสาะ ดังนั้นจึงไม่สามารถระบุว่าหมิ่นใคร
มันมี 2 กรณีที่เราต้องแยกให้ออกคือ
บุคคลที่สาม ถ้าจะฟ้องหมิ่นประมาทได้มันจะต้องมีบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะกฎหมายเข้าบอกว่าการหมิ่นประมาทคือการใส่ความบุคคลผู้อื่นต่อหน้าบุคคลที่สาม ดังนั้น
คนที่ตอบได้แบบถูกต้องแน่นอนคือ ศาล ครับ
แต่ในฐานะทนายเรามีประเด็นสู้ได้ หรือเรารู้ได้ว่าแบบนี้มันคือหมื่นประมาทนะ แต่เช่นเดียวกันทนายอีกฝั่งเขาก็จะสู้ว่ามันไม่หมิ่นนะ และหลายกรณีมันก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย
เช่นสมัยก่อน คำว่า อีสาวก้นแฉะ นี่ถือว่าหมื่นประมาทนะครับ แต่ตอนนี้ถ้าไปฟ้องกันอีกก็ไม่แน่ว่าจะเป็นการหมิ่นประมาทมั้ย หรือ เคยมีคนติดต่อทนายว่าโดนด่าว่า "ไอ้แก่" แล้วจะฟ้องหมิ่นประมาท อันนี้มันก็กึ่งๆนะ เพราะทนายเองก็ต้องคิดว่าจะไปสู้บนศาลยังไง แล้วศาลท่านจะเห็นด้วยมั้ยว่าเป็นการหมิ่น
ดังนั้นเราต้องเอามาประมวล วิเคราะห์ กันว่า แบบนี้ ว่าผู้กระทำหมิ่นอย่างไร หมิ่นหรือไม่ บางทีถ้ามันไม่หมิ่นทนายก็ไม่อยากให้ลูกความเสียเงิน เสียเวลากัน
ประเด็นต่อมาการหมิ่นประมาทมันก็มีข้อยกเว้นอยู่คือ
ยกตัวอย่างเช่น มีการหมิ่น นาย ง. ว่ามีชู้ กรณีแบบนี้แม้ว่าเป็นเรื่องจริงก็ห้ามไม่ให้พิสูจน์นะ จริงหรือเปล่าศาลไม่สนใจ หรือ เราไปวิจารณ์นักการเมืองเรื่องทุจริต อันนี้มันก็อยู่ในวิสัยของประชาชน แต่อย่างไรก็ดีมันก็ต้องทำตามขอบเขตที่พึงกระทำได้
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าคดีหมิ่นประมาทมันมี 2 กรณี คือ ทางแพ่งและทางอาญา
การหมิ่นประมาทมันมีกรณีเพิ่มเติมคือ การหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา เช่นการออกข่าวทางทีวี การโพสประจาน กรณีแบบนี้ก็เป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ การโพสในกรุ๊ป LINE หรือแชท อันนี้บางครั้งมันก็ไม่ใช่การหมิ่นประมาทโดยการโฆษณานะครับ เพราะมันเป็นการพูดคุยกันในกลุ่มเฉพาะ คนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้ กล่าวคือมันเป็นการหมิ่นประมาทโดยการใส่ความผู้อื่นแต่ไม่ใช่การหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
อีกประเด็นคือเรื่อง พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ความผิดฐานการนำเข้าข้อมูลเท็จ ตามพรบคอมๆ นั้นคือ โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันเป็นการมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา
กล่าวคือเท่าที่มีการแก้ไขใหม่ คือไม่ให้มีการนำความผิดทางอาญา ไปใช้กับพรบ คอมๆ แล้วนะครับ
สรุป