ในวันที่มีคนตายบางท่านมีมรดก หลงเหลืออยู่ เช่นที่ดิน เงินในบัญชี รถยนต์ บ้าน อสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ทรัพย์สินบางประเภทของผู้ตายเราสามารถจัดการได้เองเลย โดยที่ไม่ต้องมีผู้จัดการมรดก ยกตัวอย่างเช่น สังหาริมทรัพย์ ประเภทต่างๆ เช่น เงินสด แก้ว แหวนเงินทอง การจัดการคือการที่ ทายาทของผู้ตาย แบ่งเข้าครอบครองเป็นส่วนสัด เช่น พี่น้องจัดการแบ่งแก้วแหวนเงินทอง ว่าใครจะได้อะไร ก็เป็นอันจบกระบวนการ
อสังหาริมทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน จริงๆแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีผู้จัดการมรดก เพียงแค่พี่น้องจูงมือกันไปที่กรมที่ดินแล้วก็แบ่งกันไปว่าใครจะได้เท่าไหร่อะไรอย่างไร ซึ่งต้องตกลงกันให้ได้นะ ถ้าไปทะเลาะกันที่กรมที่ดิน เจ้าพนักงานคงจะเชิญออกมานอกห้องให้ตกลงกันให้ไดก่อน
แต่อย่างไรก็ดี ทรัพย์บางประเภทจำเป็นต้องมีการตั้งผู้จัดการมรดกก่อน ถึงจะทำการถ่ายโอนทรัพย์นั้นได้เช่น เงินในบัญชีธนาคาร เราจำเป็นต้องมีคำสั่งศาลในการตั้งผู้จัดการมรดก มิฉะนั้นแล้วเจ้าหน้าที่ธนาคารจะไม่ยอมให้ถอนเงินออกมา
หลายคนเข้าใจผิดว่าการที่เราได้รับการตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วนั้นจะสามารถทำอะไรกับทรัพย์นั้นก้ได้ เช่นไปโอนมาเป็นชื่อของตัวเองซึ่งการทำเเบบนั้นถือเป็นการยักยอกทรัพย์มรดกซึ่งมีความผิดทางอาญา หน้าที่ของผู้จัดการมรดก คือการแบ่งทรัพย์สินให้แก่คนทายาทของผู้ตาย ซึ่งรวมไปถึงตัวของผู้จัดการมรดก เองด้วย และต้องจัดการแบ่งให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ถ้าการแบ่งมีค่าใช้จ่ายก็สามารถคิดเอาจากกองทรัพย์มรดกได้ด้วย
ซึ่งสรุปแล้วโดยหลักๆหน้าที่ของผู้จัดการมรดกคือ การแบ่งทรัพย์สินให้ทายาทนั่นเอง
มี 2 คนคือ
คนกลุ่มแรกไม่มีปัญหาอะไรซับซ้อนมากนักเพราะเจตจำนงของผู้ตายสำคัญที่สุด แต่ปัญหาจะเกิดกับคนกลุ่มที่สองว่าใครคือผู้มีส่วนได้เสียบ้าง
คนที่มีส่วนได้เสียนั้นคือ คนที่จะต้องได้อะไรกับกองทรัพย์มรดกนั่นเองเช่น เจ้าหนี้ คู่สมรส ทายาทที่มีสิทธิ์ได้รับมรดก เป็นต้น
ญาติพี่น้องไม่ใช่ทายาททุกคนที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้ ก่อนอื่นที่เราต้องรู้ก่อนว่าใครมีสิทิ์ได้รับมรดกบ้าง
ดังนั้นส่วนใหญ่ในหลายๆกรณี พี่น้อง ลุง ป้า น้า อา มักจะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ เพราะทายาทลำดับต้นของผู้ตายยังอยู่
ปัญหาของการตั้งผู้จัดการมรดกคือ พี่น้องบางคนติดต่อไม่ได้ บางคนไม่หือไม่อือ บางคนไม่สนใจอะไร ซึ่งกรณีเช่นนี้ ทนายก็ต้องทำการออกหมายให้ไปไต่สวน คำร้องออกหมายติดประกาศ หรือขั้นตอนอะไรที่จำเป็น
สิ่งที่ต้องพึงระลึกคือ ถ้าทายาทคนใดไม่เห็นด้วยแล้วทำการคัดค้าน คดีนี้จะไม่ได้เป็นตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว แต่คดีมีคำร้องฝ่ายเดียวแต่จะกลายเป็นเป็นคดีแพ่งสามัญที่มีข้อพิพาทซึ่งจะเป็นอีกคดีหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ต้องคุยกับทนายให้แน่ชัดเรื่องค่าจ้าง
ขอบคุณครับ